8/31/2007
นอนเถอะโยม
ช่วงหลังๆ นี่ผมมักโดนยิงคำถามจากสหายอยู่บ่อยครั้งว่าการงานช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้าง?, ดีไหม?, ชอบไหม?, พอใจไหม?, เงินดีไหม?, เมื่อไหร่จะแต่ง?
(อย่างหลังนี่ดูเหมือนไม่ค่อยเกี่ยวกับสองสามคำถามก่อนหน้า แต่นั่นก็อยู่ในคำถามชุดเดียวกัน) สาเหตุของคำถามน่าจะมาจากลักษณะงานของผม ที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยมั่นคงแน่นอนอะไรเลย เพียงแต่ว่าตัวผมเองก็ไม่ได้เรียกร้องลักษณะงานสายนั้นอยู่แล้ว แต่ก็เข้าใจว่าคำถามที่เอ่ยนั้นมาจากความเป็นห่วงเป็นใย
ขอบคุณสำหรับคำถามค่ะ เอ๊ย! ครับ
ส่วนใหญ่คำตอบของผมมักจะเป็นทีเล่นซะมากกว่าที่จริง เนื่องจากทีจริงก็คือผมยังไม่ชัดเจนในคำตอบเหล่านั้นเท่าใดนัก ส่วนหนึ่งอาจมาจากตัวผมเองนั้นแม้ว่าเคยเรียนลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่สอนให้ ‘มองไกล’ มาแล้ว แต่ดูเหมือนตัวผมเองยังคง ‘มองใกล้’ และใส่ใจกับเรื่องราว ‘ปัจจุบัน’ รอบข้างเสียส่วนใหญ่ ถ้าจะให้พูดแบบเข้าข้างตัวเอง ผมอาจตอบได้ว่า ผมพอใจกับปัจจุบัน แต่ก็นั่นอีกแหละ หลายคนอาจทักให้มองถึงอนาคตบ้าง คนที่ไม่วางแผนอะไรในชีวิตเลย
อาจประสบกับความล้มเหลวทางชีวิตได้
ไม่รู้สิ – ผมว่าอะไรจะเกิดจะดับก็ต้องเกิดต้องดับ เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ยอมรับมัน
และหัวเราะใส่มันดีกว่า
มีอยู่คืนหนึ่ง ผมได้ร่วมเดินทางไปกับคณะผ้าป่า เพื่อไปทอดผ้า ณ วัดบ้านผักไหม จังหวัดสุรินทร์ ในวันเข้าพรรษาจากคำชวนของแม่ และทีมงานแม่บ้านอีกกว่าสามสิบชีวิต ซึ่งตัวผมก็ยินดีร่วมเดินทางไปกับคณะอย่างไม่ต้องเสียเวลาคิดเท่าใดนัก ได้เที่ยว แถมยังได้บุญด้วย
ที่วัดบ้านผักไหมนี้ยังไม่มีโบสถ์ มีเพียงศาลาวัด และเพิงที่สร้างกันแดดกันฝนเป็นครัวไว้ทำอาหารต้อนรับบรรดาญาติโยมผู้มาเยือน โดยญาติโยมเจ้าบ้าน
พอตกกลางคืนก็มืดสนิท และเงียบกริบราวนาช้า (มีแต่นา ป่าบ่มี)
พัดลมเพดานใบเขื่องบนหลังคาวัด ยังคงหมุนเอื่อยๆ ในค่ำคืนไร้แสงสี
แต่มีเสียงแมลงรรรงมอยู่โดยรอบ
เจ้าอาวาสเดินมาเอ่ยบอกญาติโยมให้พักผ่อน ก่อนท่านจะขอตัวไปจำวัดว่า
“ที่นี่ยังไม่ค่อยพร้อมนะโยม อะไรๆ ก็มีน้อย มีน้อยก็ใช้แต่น้อยนะโยม
คิดเอาเสียว่าน้อยคือมาก”
ผมได้ยินแล้วก็แอบอมยิ้ม
ไม่รู้ว่าท่านเจ้าอาวาสจะหมายถึงคำๆ เดียวกับคุณตามีส ฟันเดอโร (Ludwig Mies van der Rohe) สถาปนิกชาวเยอรมันที่จัดอยู่ขั้นเทพที่นำแนวคิดที่ท่านเจ้าอาวาสเพิ่งบอกเมื่อกี้นี้มาใช้เป็นแนวทางการทำงานของคุณตาเค้า
ที่ภาษาปะกิตใช้ว่า “Less is more” จนงานของคุณตาเค้าเป็นงานระดับขึ้นหิ้งมาจนทุกวันนี้หรือเปล่า
ไม่รู้สิ – ผมคิดเอาเองว่ามันเป็นเรื่องบังเอิญที่น่ารักดี
นี่ถ้าท่านเจ้าอาวาสพูดกำกับด้วยภาษาปะกิตต่อท้ายไปด้วยล่ะก็
ผมมีหวังนอนท้องแข็งถึงเช้าแน่ๆ เลย
8/28/2007
DREAM BANGKOK
ประเดิมถ่ายรูปให้กับ RED CARPET นิตยสารแจกฟรีสองภาษาหัวใหม่เอี่ยมอ่องที่ยังไม่ออกด้วยคอลัมน์ Place ด้วยโรงแรมสุด Hip ย่านสุขุมวิท อันมีนามว่า DREAM BANGKOK มีสาขาใหญ่อยู่ที่ New York เจ้าของเป็นคนอินตาระเดีย สัญชาติอเมริกัน ซึ่งเร็วๆ นี้กำลังจะเปิดสาขาที่อินเดียด้วย
จริงๆ ชื่อโรงแรมมันคุ้นหูยังไงชอบกล พอไปถึงที่ก็ถึงบางอ้อ จริงๆ ผมเคยมาที่นี่แล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ครั้งนั้นมาชั่วคราว ไม่ได้ค้างคืน
เปล่า! ไม่ได้พาใครมานอน แต่ครั้งก่อนเคยมาถ่ายรูปงานฉลองครบรอบ 1 ปีของนิตยสาร OK ซึ่งพี่ที่นั้นรู้จักมักจี่กับผมตั้งแต่คราวที่ผมเข้าไปฝึกงานกับ Seventeen ซึ่งเป็นนิตยสารในเครือเดียวกัน เมื่อครั้งวัยละอ่อน
คุณหนึ่ง PR สาวสวยพาชมห้องตัวอย่างพร้อมสาธยายโน่นนี่นั่นให้ฟังมากมาย จับใจความได้อย่างเดียวว่า
"ช่วยเร่งหน่อยนะคะ ดิฉันรีบ"
แน่นอน ผมอยากช่วยคุณครับคุณผู้หญิง อะไรก็ตามที่สามารถช่วยได้
เพราะผมมีเวลาเหลือเฟือเลย
8/24/2007
7even Scenes in Hua Hin
HUA HIN
In 1834, before the name Hua Hin was coined, some agricultural areas of Phetchaburi Province were hit by severe drought. A group of farmers moved southward until they found a small village that had bright white sands and a row of rocks along the beach. They settled here and gave it the name Samore Riang which mean rows of rock.
In 1921 the director of the state railway, Prince Purachatra, built the Railway Hotel close to the beach. King Prajadhipok (Rama VII) liked the place so much that he built a summer palace there. The palace was named Wang Klai Kang Won ('Far from Worries'). It is now the full-time residence of His Majesty the King of Thailand. His Royal Highness Prince Krom Phra Naresworarit was the first member of the royal family to build a group of palaces at Ban Laem Hin, called Sukaves, and he give the name Hua Hin to the beach next to his palace. In 1932 Hua Hin was part of Pran Buri district. In 1949 Hua Hin was promoted to be a district of Prachuap Khiri Khan province. After the building of southern railway, Hua Hin became the first and most popular beach resort of Thailand.
In 1921 the director of the state railway, Prince Purachatra, built the Railway Hotel close to the beach. King Prajadhipok (Rama VII) liked the place so much that he built a summer palace there. The palace was named Wang Klai Kang Won ('Far from Worries'). It is now the full-time residence of His Majesty the King of Thailand. His Royal Highness Prince Krom Phra Naresworarit was the first member of the royal family to build a group of palaces at Ban Laem Hin, called Sukaves, and he give the name Hua Hin to the beach next to his palace. In 1932 Hua Hin was part of Pran Buri district. In 1949 Hua Hin was promoted to be a district of Prachuap Khiri Khan province. After the building of southern railway, Hua Hin became the first and most popular beach resort of Thailand.
แสบกันมาพักใหญ่จนพ่อแม่พี่น้องหลายคนเริ่มคันคะเยอกันแล้ว เห็นเป็นอันสมควรที่จะช่วยบรรเทาอาการแสบที่ผ่านมาด้วยผลงานภาพชุดใหม่เสียที่
ภาพชุดนี้เป็น Special Features ของชุด Same Same But Different
ตอนนั้นขากลับจากสมุยได้แวะพักหัวหินอยู่สองวัน ได้มาเจ็ดรูปดังที่เห็นเป็นประการฉะนี้แหละครับพี่น้องทั้งหลาย
รอบนี้ขอฝากประโยคเด็ดสะกิดใจไว้ในอ้อมอกอ้อมใจสักหนึ่งชิ้นนะครับพี่น้อง บังเอิญตั้งใจเข้าไปอ่านบทสนทนาชุด "ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน" ใน onopen เรื่องล่าสุดมา ตอนท้ายคุณปราบดา หยุ่น เจ้าสำนักใต้ฝุ่นเขาอ้างถึงประโยคของโธโร (Henry David Thoreau) นักเขียนอเมริกันย่านนิวอิงแลนด์ขึ้นมา ซึ่งมันช่างเหมาะเจาะกับภาวะการเมืองตั้งแต่อดีตกาลจวบจนปัจจุบันในความรู้สึกของผมเสียจริงๆ เขาเขียนไว้ว่าอย่างนี้ครับพี่น้อง
“What is called politics is comparatively something so superficial and inhuman, that, practically, I have never fairly recognized that it concerns me at all.”
“สิ่งที่เรียกว่าการเมืองนั้นมันดูเหมือนจะเป็นสิ่งจอมปลอม และไร้มนุษยธรรมเสียจนผมไม่เคยรู้สึกว่ามันจะเกี่ยวกับผมตรงไหนเลย”
เด็ดไหมล่ะพี่น้อง^^
ตอนนั้นขากลับจากสมุยได้แวะพักหัวหินอยู่สองวัน ได้มาเจ็ดรูปดังที่เห็นเป็นประการฉะนี้แหละครับพี่น้องทั้งหลาย
รอบนี้ขอฝากประโยคเด็ดสะกิดใจไว้ในอ้อมอกอ้อมใจสักหนึ่งชิ้นนะครับพี่น้อง บังเอิญตั้งใจเข้าไปอ่านบทสนทนาชุด "ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน" ใน onopen เรื่องล่าสุดมา ตอนท้ายคุณปราบดา หยุ่น เจ้าสำนักใต้ฝุ่นเขาอ้างถึงประโยคของโธโร (Henry David Thoreau) นักเขียนอเมริกันย่านนิวอิงแลนด์ขึ้นมา ซึ่งมันช่างเหมาะเจาะกับภาวะการเมืองตั้งแต่อดีตกาลจวบจนปัจจุบันในความรู้สึกของผมเสียจริงๆ เขาเขียนไว้ว่าอย่างนี้ครับพี่น้อง
“What is called politics is comparatively something so superficial and inhuman, that, practically, I have never fairly recognized that it concerns me at all.”
“สิ่งที่เรียกว่าการเมืองนั้นมันดูเหมือนจะเป็นสิ่งจอมปลอม และไร้มนุษยธรรมเสียจนผมไม่เคยรู้สึกว่ามันจะเกี่ยวกับผมตรงไหนเลย”
เด็ดไหมล่ะพี่น้อง^^
8/10/2007
บางแสนแสบ
หากว่าการเดินทางโดยอากาศยานมีสายการบินทางเลือกสำหรับคนทรัพย์น้อยแต่รอคอยโอกาสสยายปีกโบยบินสู่ฟ้ากว้างที่เรียกว่า ‘สายการบินต้นทุนต่ำ’ หรือที่เรียกกันติดปากว่า ‘Low Cost Airline’ ผมว่าชายหาดบางแสนก็น่าจะเป็น
‘หาดทรายต้นทุนต่ำ’ หรือ ‘Low Cost Beach’ สำหรับใครหลายคนที่อยากชมชื่นรื่นรมย์กับทะเลไทย โดยเฉพาะกับพี่น้องภาคอีสานและเหนือ บางแสนคงคล้ายเป็นจุดเริ่มต้นของการรู้จักทะเลของใครหลายคนที่ว่านั้น
แม้ไม่ค่อยมีความสวยสดงดงามของชายหาดและน้ำทะเลเหมือนที่อื่น แต่ผมพบว่าบางแสนมีบรรยากาศพิเศษบางอย่างห้อมล้อมอยู่โดยรวม และพร้อมที่จะโอบกอดใครก็ตามที่เปิดใจปล่อยกายรับมัน
หาดทราย, สายลม, เสียงคลื่น, ต้นมะพร้าว, เตียงผ้าใบ, ไก่เหลือง, ส้มตำ,
ห่วงยางวงโต, เครื่องบินโฟม, จักรยานยาน (อันนี้ผมเรียกเองจากลักษณะของมัน ซึ่งบางคันก็ต้องเรียกจักรยานยานยาน) ล้วนทำหน้าที่ของมันอย่างดีเสมอมา
ผมมาปรากฏตัวที่บางแสนอีกครั้งในช่วงเวลาใกล้เที่ยงของวันอาทิตย์ธรรมดาๆ วันหนึ่ง หลังจากคืนก่อนมีเหตุให้ต้องพักหลับนอนแถวนี้ คืนนั้นก่อนนอนก็คิดขึ้นมาได้ว่าก่อนเดินทางกลับน่าจะแวะไปเดินเล่นชายหาดบางแสนเสียหน่อย จะว่าไปตอนก่อนหน้านี้ ก็ยังไม่เคยมุ่งใจไปหาดบางแสนกับเค้าซะที มีแต่เฉียดไปหาดวอนนภา หรือไม่ก็แฉลบไปทางแหลมแท่น เลยขึ้นเขาสามมุกไปก็มี วันนี้คงจะได้อะไรจากหาดบางแสนบ้าง จากที่เคยเป็นเพียงภาพผ่านสองข้างทางมาหลายคราว เดินเรื่อยเปื่อยตามทางสักพักจู่ๆ คำๆ หนึ่งก็แลบขึ้นมาในหัว...
--บางแสนแสบ--
ภาพเด็กน้อยวิ่งเล่นกันไปมาตามชายหาด บ้างแหวกว่ายกับคลื่นก้อนกะทัดรัดอยู่ในทะเล โดยมีผู้ปกครองคอยดูอยู่ห่างๆ วัยรุ่นหนุ่มสาว บ้างนั่งพูดคุยสังสันทน์กันบนเก้าอี้ผ้าใบด้านบนที่เพียบพร้อมไปด้วยเสบียง บ้างก็เตะฟุตบอลชายหาด ต่างโชว์ลีลาลูกหนังกันเต็มคราบ บ้างร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนานเคล้าด้วยเสียงให้จังหวะจากกลองยาวและขวดแก้ว บ้างเดินจีบจู๋จี๋กันตามชายหาดเป็นคู่ๆ บ้างปั่นจักรยานยานเล่นอยู่ริมถนนถัดออกไป โดยมีเสียงเจื้อยแจ้วจากบรรดา
พ่อค้าแม่ขายที่เรียงรายอยู่ทั่วไปดังแทรกขึ้นมาเป็นระยะ
ถ้าจะเปรียบบางแสนเป็นบทเพลงก็คงเป็นได้หลากหลายแนว ทั้งเพลงร็อกโยกหัว, เพลงโจ๊ะยักไหล่ (เด็กแซ้บแถวนั้นยักไหล่สนับสนุนอย่างเข้าจังหวะ), เพลงเต้นรำสนุกสนาน (อันนี้เห็นบ่อย), เพลงเพื่อชีวิต (ส่วนมากมาตอนกลางคืนช่วงดึก), เพลงรักชุ่มฉ่ำ หรือเพลงอกหักใจสลาย (อย่างหลังขอบอกว่ามันแสนเศร้า เหงาอย่าบอกใครเชียว)
เวลาผ่านไปกี่ปีๆ บรรยากาศของบางแสนก็ยังคงร้องบรรเลงอยู่อย่างนั้น
สำหรับผม เมื่อก่อนบางแสน ‘แสบ’ อย่างไร ปัจจุบันก็ยังคง ‘แสบ’ อยู่อย่างนั้น
ไม่จำเป็นต้องเชื่อ! หากอยากรู้ว่ามันแสบหรือไม่ แค่ไหน อย่างไร ไม่ยาก
หาเตียงผ้าใบสีสันถูกใจสักตัว แล้วมองหามุมที่คิดว่าเหมาะ
หาเตียงผ้าใบสีสันถูกใจสักตัว แล้วมองหามุมที่คิดว่าเหมาะ
จากนั้นนั่งลง แล้วฟัง--
8/08/2007
Seeson on the Pha
Pha Taem
Pha Taem is the name of the painted cliff, the word ‘Pha’ means cliff and ‘Taem’ refers to painting. Pha Taem is well – known and unique for its prehistoric paintings which date back to 3,000 – 4,000 years before history. The paintings scattering along the cliff over an area of 180 meters with more than 300 pictures, they can be categorized into four groups, the most outstanding pieces include the pictures of elephants, fish, fishing tool (made of bamboo stick called ‘Tum’ in local language), wild animals and hum an palms. These paintings tell us about people’s way of life and the civilization of the Klong River’s community in the ancient times.
Pha Taem is the name of the painted cliff, the word ‘Pha’ means cliff and ‘Taem’ refers to painting. Pha Taem is well – known and unique for its prehistoric paintings which date back to 3,000 – 4,000 years before history. The paintings scattering along the cliff over an area of 180 meters with more than 300 pictures, they can be categorized into four groups, the most outstanding pieces include the pictures of elephants, fish, fishing tool (made of bamboo stick called ‘Tum’ in local language), wild animals and hum an palms. These paintings tell us about people’s way of life and the civilization of the Klong River’s community in the ancient times.
8/06/2007
อยู่ในใจ อยู่ในกาย
เสียงนั้นกำลังเพรียกหาอยู่ จากที่ใดที่หนึ่งในใจฉัน
ฉันอยากจะอยู่ในฝัน เพราะมันทำให้หัวใจของฉันเต้นรำเสมอ
แม้ว่าจะต้องเศร้ามากมายเพียงไร
แต่ ณ อีกฟากหนึ่งนั้น ฉันจะต้องได้พบกับเธอแน่นอน
ทุกครั้งทุกคราที่มีใครคนใดทำพลาดพลั้ง
อย่างน้อยเขาก็ยังรู้ว่า ฟ้าอันว่างเปล่านั้นเป็นสีฟ้า
ดูเหมือนว่าสันทางสายนี้จะยาวไปจนไม่มีที่สิ้นสุด
หากแต่สองมือนี้จะประคับประครองดวงไฟสว่างไสวเอาไว้ให้ได้ตลอด
หัวใจของฉันแสนเปลี่ยวเหงา ในยามที่เราต้องลาจาก
กายที่ใกล้จะดับสลายของฉัน จงนิ่งฟังให้ดี
ปริศนาของการมีชีวิตอยู่ ปริศนาแห่งความตาย
ดอกไม้ สายลม ถนนหนทาง ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเหมือนกัน
เสียงนั้นกำลังเพรียกหาอยู่ จากที่ใดที่หนึ่งในใจฉัน
เราจงมาวาดฝันด้วยกันเรื่อยไป อีกครั้งและอีกครั้ง
หากว่าเราต้องเศร้าโศกเสียใจ
เราจงมาร่วมร้องเพลงร่วมกัน ในสำเนียงเดียวกัน
ในความทรงจำที่ใกล้จะปิดสนิท
ฉันยังได้ยินเสียงกระซิบที่ฉันไม่ต้องการจะลืมเลือนนั้นเสมอ
แม้ในกระจกเงาที่แตกสลายก็ยังคงสะท้อนภาพใหม่ออกมาให้เห็น
ยามเช้า, หน้าต่างที่แสนเงียบเหงาบานนั้น
กายที่ใกล้จะดับสลายของฉันนั้นได้ถูกเติมเต็มแล้ว
ฉันไม่ต้องเดินทางข้ามฝั่งทะเลเพื่อค้นหามันอีกต่อไป
ประกายระยิบระยับตานั้น มันอยู่ตรงนี้เรื่อยมา
ฉันค้นพบแล้ว ในใจของฉันเอง
.............
เนื้อเพลงตอนจบจาก Spirited Away ซึ่งเขียนบท และกำกับโดยฮายาโอะ
มิยาซากิ (Hayao Miyazaki) เรียงเรียงมาจากบทบรรยายไทยจากในภาพยนตร์ที่แปลไว้อีกทีหนึ่ง ชื่อเพลงนั้นไม่รู้แน่ชัดนัก แต่หากใครได้ดูเรื่องนี้แล้วคง ‘ทราบ’ และ ‘ซึ้ง’ ถึงเนื้อหาที่คมคายแฝงด้วยแง่คิดปรัชญาหลากหลาย
ของทั้งเพลงประกอบ และตัวภาพยนตร์เองเรื่องนี้ดี
ความประทับใจเล็กๆ น้อยๆ จะมีค่าเพิ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้ถูกแบ่งปันเรื่องเหล่านั้นให้ผู้อื่นได้ร่วมรับรู้สึกกับมันด้วย
ไม่ว่าเรื่องๆ นั้นจะชื่นสุขหรือเหงาเศร้าเพียงไร
คนคนนั้นจะยิ้มไปพร้อมๆ กับเรา
Subscribe to:
Posts (Atom)