8/24/2009
COLOR
“...คนเราย่อมมีทั้งโชคดีและโชคร้าย
แต่การจะปล่อยให้เป็นไปตามโชคชะตานั้นไม่ช่วยอะไรเลย
คิดอย่างนี้แล้วใช่ว่าจะทำให้ทุกข์น้อยลง
ตั้งแต่ฉันตระหนักถึงความจริงข้อนี้ฉันก็ได้กลายเป็นผู้ใหญ่น่ารังเกียจ
ที่สามารถจะทนมีชีวิตไปได้อย่างปกติร่วมกับสิ่งเลวร้ายเหล่านั้น
แต่มันก็ทำให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ง่ายขึ้น...”
บางตอนจาก คิทเช่น, โยชิโมโต บานานา เขียน
แปลโดย เพลงดาบแม่น้ำร้อยสาย
8/17/2009
มันจะมี...
เราเลือกที่จะนั่งเล่นกันอยู่บนผืนหญ้านุ่มๆ ริมสระในสวนสาธารณะแทนที่จะเลือกร้านอาหารดีๆ สักร้านในย่านนั้นกับวันว่างๆ กลางสัปดาห์ที่อบอวลไปด้วยเชื้อไวรัส H1N1 ชนิด B
จำได้ว่าเธอเคยบอกผมในวันแรกๆ ที่เราเริ่มพูดคุยกันใหม่ๆ ว่าชื่นชอบในระบบนิเวศในสวน พวกสีเขียวๆ ของใบไม้ใบหญ้า สระน้ำ ร่มเงาของต้นไม้ เสียงเจี๊ยวจ๊าวเล็กๆ ของเด็กและนก เพราะมันทำให้เธอรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขอยู่ในทุกๆ ครั้ง
เธอน่ารักมากเวลาที่พูดอะไรออกมาจากความรู้สึกจริงๆ
และมันก็มักจะทำให้ผมรู้สึกร่วมไปกับเธออย่างชิดเชื้อด้วยเสมอ
แม้ว่าวันนี้ลมฟ้าอากาศจะทำตัวไม่ค่อยน่ารักนัก
ท้องฟ้ามัวครึ้ม มีลมพัดเพียงแผ่วๆ
กลุ่มก้อนเมฆเบื้องบนก็ควบแน่นตั้งเค้าว่าจะเปลี่ยนสถานะในอีกไม่นานเกินรอ
สีเขียวที่มีจึงเป็นเขียวที่ค่อนข้างหมอง
แต่เสียงของเด็กๆ และนกที่เธอชอบ กอปรกับภาพระบำน้ำพุเบื้องหน้าก็ยังพอช่วยให้เย็นนี้ไม่แย่จนเกินไป
ผมและเธอนั่งคุยฟุ้งเรื่องราวสัพเพเหระกันที่นั่น โดยเฉพาะกับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง
หลังจบการร่ายรำของน้ำพุในเวลาราวหนึ่งทุ่ม Lighting show อั้นเย้ายวนนวลตาของแสงไฟทางเดินรอบๆ สวนที่สะท้อนไหวกับผิวน้ำเนียนๆ เป็นประกายระยับก็อังกอร์ต่อให้เรา ในขณะที่เรื่องไม่เป็นเรื่องหลายต่อหลายเรื่องก็ยังคงถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยด้วยความเพลิดเพลิน
สักพัก เธอก็หยิบเครื่องเล่น MP3 ขึ้นมา แล้วเลื่อนเลือกเพลง ก่อนที่จะปันหูฟังข้างหนึ่งให้ผม
แล้วจากนั้นเราก็เชื่อมต่อกันและกันด้วยเส้นสายสีขาว
ผมจัดการยัดเข้าไปในรูหูซ้าย เพื่อรับฟังการบรรเลง
มันเป็นเพลง Arthur’s Theme (Best That You Can Do) ในเวอร์ชั่นหวานๆ ของ Paris Match
เธอบอกว่าชอบ ฟังทีไรเหมือนมันจะมีดอกไม้บานอยู่ในหู
และยิ่งถ้าได้ลองฟังในสวนสาธารณะคงจะดี เพราะจะมีที่ทางกว้างขวางมากพอให้ดอกไม้หลายร้อยได้เบ่งบานไปพร้อมๆ กัน ทั้งในสวน และในหู
When you get caught between the Moon and New York City
I know it's crazy, but it's true
If you get caught between the Moon and New York City
The best that you can do… is fall in love
ถ้าเธอถูกจับได้ระหว่างพระจันทร์กับเมืองนิวยอร์ก
มันอาจจะฟังดูบ้าๆ นะ แต่มันเป็นเรื่องจริง
สิ่งที่ดีสุดที่เธอควรทำก็คือ... ตกหลุมรักเสีย
.
.
ในที่สุดผมก็หลุดปากเอ่ยออกไป โดยที่ดูเหมือนจะไม่ได้สนหรือใส่ใจกับอาการของฟ้าฝนและเชื้อไวรัสเท่าใดนัก
จะว่าไปที่จริงนั้นผมซ้อมเรียกชื่อเธออย่างแผ่วเบาสองครั้งก่อน พอให้ดูมีพิรุธ แล้วพูดต่อให้จบประโยคแบบไม่เปล่งเสียงในใจ ก่อนที่จะสารภาพความจริงข้างในออกไปในครั้งที่สาม ด้วยสารรูปที่มอมแมมเล็กน้อยจากการเดินทางอย่างสะบักสะบอมที่ผ่านมาก่อนหน้า
ถึงตอนนี้ลมก็กรรโชกขึ้น พร้อมกับเสียงหวีดหวิวของต้นไม้ใบหญ้ารอบๆ ที่ส่งเสียงกระพืออื้ออึงชวนให้ตกตะลึงพรึงเพริด
หมู่เมฆปลายเดือนกรกฎาฯ ที่ดูซึมทึมตั้งแต่ช่วงเย็นก็โปรยปรายลงมาเป็นสาย
กบตัวเล็กตัวน้อยสอง- สามตัวข้างๆ ส่งเสียงร้องขานขับรับการมาถึงของหยดน้ำจากอากาศ
แล้วผมก็เปียก และไหลตกลงไป
8/12/2009
happy MOMday
สวัสดีวันแม่ ^_^
มีข่าวสารเล็กๆน้อยๆ มาประชาสัมพันธ์กันสำหรับใครก็ตามที่รักเด็ก, มองการไกล, ใคร่สอน, ชอบนอนดอย, นิยมชมชอบในอารมณ์ชิงช้า, มีเวลาให้กับสายลมแสงแดด, ไม่แพ้ฝุ่น และกลิ่นกรุ่นๆ ของดินดอย
1) Teachin’ a ride
โครงการครูบ้านนอก รุ่นสัญจร 7 ของมูลนิธิกระจกเงา (เชียงราย) รอบนี้จะพาท่านคณาจารย์ (ขออนุญาตใช้คำนี้นะ) สัญจรไปสอน นอน และใช้แรงกายกันตามสมควรที่บ้านห้วยหยวก ต.แม่ขะนิง อ.เวียงสา จ.น่าน โน่นแน่ะ ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชนเผ่ามลาบรี หรือที่เรารู้จักกันว่า “ตองเหลือง” นั่นแหละครับ
ระหว่างวันที่ 26 – 30 นี้ (สิงหาคม) ถ้าใครสนก็เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่นี่
http://www.bannok.com/volunteer/volunteer_v_php/view_detail_content.php?id=1559
ขอแอบบอกดังๆ ว่า “น่านสวยมาก”
2) ลอยไปลอยมาอยู่บนดอย (เอ่อ.. คุ้นๆ เนอะ)
ในฐานะที่เคยร่วมไปสุงสิงและอิงแอบแนบชิดกับชาวบ้านที่โน่นมาเมื่อปีกลาย จนได้เรื่องได้ราวมาเขียนหนังสือเป็นเล่ม! (ที่บางคนก็แอบแซวว่าไม่ได้เรื่องได้ราว >_<) เลยรู้แก่กายใจดีว่าบรรยากาศของงานสนุกสนานขะหนาด
จึงใคร่ขอแจ้งข่าวเชิญชวนให้ลองไปปะ – ฉะ – ดะ กันกับตัวเองซะเลย
โดยงานประเพณีโล้ชิงช้าของปีนี้นั้น จะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 1 – 4 เดือนหน้า (กันยายน) ไม่ว่าหน้าไหนใครก็ตาม ที่สนใจอยากเล่นของสูง ก็เรียนเชิญโลด (โผน) กันได้เลย
เข้าไปดูรายละเอียดอีกหนึ่งโครการดีๆ ของมูลนิธิฯ ได้ที่นี่
http://www.hilltribetour.com/autopage/show_page.php?t=2&s_id=33&d_id=33
ทิ้งท้ายด้วยคำคมเบาๆ กันหน่อยว่า
“Smell the climate while you can”
Enjoy!
.........
ป.ล. รักแม่นะฮะ
8/08/2009
บาหลี - สันสกฤต
Kecak (pronounced [ˈketʃak], alternate spellings: Ketjak and Ketjack) a form of Balinese music drama, originated in the 1930s and is performed primarily by men. Also known as the Ramayana Monkey Chant, the piece, performed by a circle of 100 or more performers wearing checked cloth around their waists, percussively chanting "cak" and throwing up their arms, depicts a battle from the Ramayana where the monkey-like Vanara helped Prince Rama fight the evil King Ravana. However, Kecak has roots in sanghyang, a trance-inducing exorcism dance.
Kecak was originally a trance ritual accompanied by male chorus. German painter and musician Walter Spies became deeply interested in the ritual while living in Bali in the 1930s and worked to recreate it into a drama, based on the Hindu Ramayana and including dance, intended to be presented to Western tourist audiences. This transformation is an example of what James Clifford describes as part of the "modern art-culture system" in which, "the West or the central power adopts, transforms, and consumes non-Western or peripheral cultural elements, while making 'art' which was once embedded in the culture as a whole, into a separate entity." Spies worked with Wayan Limbak and Limbak popularized the dance by traveling throughout the world with Balinese performance groups. These travels have helped to make the Kecak famous throughout the world.
visit http://en.wikipedia.org/wiki/Kecak for more details
Subscribe to:
Posts (Atom)