1/22/2008

ดอน/Jane/D 80



















พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา แต่ละฉบับ บันทึกปีรัชกาล และวันกระทำยุทธหัตถี ของสมเด็จพระนเศวรมหาราชแตกต่างกันออกไป แต่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ยึดเอาที่ปารกฎในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติเป็นหลัก เนื่องจากพงศาวดารฉบับนี้ ค่อนข้างมีความแม่นยำ และถูกต้องกว่าฉบับบอื่นๆ

พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ บันทึกสงครามครั้งสงครามยุทธหัตถี ปีมะโรง จศ. ๙๕๔ (พ.ศ. ๒๑๓๕) ไว้ว่า “ …เถิงวัน ๒ฯ ๒ ๒ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๕ นาฬิกา ๓ บาท สมเด็จทรงช้างต้นพระญาไชยานุภาพ เสด็จออกรบมหาอุปราช ตำบลหนองสาหร่าย ครั้งนั้นมิได้ตามฤกษ์ และฝ่าย (ผ่า) ฤกษ์หน่อยหนึ่ง แลเมื่อได้ชนช้างด้วยมหาอุปราชานั้น สมเด็จพระนารายณ์บพิตร เป็นเจ้าต้องปืน ณ พระหัตถ์ขวาหน่อยหนึ่ง อนึ่งเมื่อมหาอุปราชาขี่ช้างออกมายืนอยู่ตรงนั้น หมวกมหาอุปราชาใส่นั้นตกลงเถิงดิน แลเอาคืนใส่เล่า ครั้งนั้นมหาอุปราชาขาดคอช้างตายในที่นั้น... ”

วันเวลาที่กล่าวถึงในพวศาวดารดังกล่าว เป็นวันทางจันทรคติ ซึ่งใช้กันอยู่ในสมัยนั้น แต่ในปัจจุบันคนไทยเคยชินกับวันทางสุริยคติมากกว่า จึงต้องมีการคำนวนเปรียบเทียบวันทางจันทรคติมาเป็นวันทางสุริยคติ เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น ตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ ตามปฎิทินสุริยคติระบบเกรกอเรี่ยน

ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปีเป็นวัน “ยุทธหัตถี” หรือ “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” โดยถือเป็นวันรัฐพิธี ให้มีการวางพานพุ่มถวายราชสักการะ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ ๒๕ เมษายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอีกด้วย

***บางส่วน บางตอนจากบทบรรยายนิทรรศการสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในอนุเสาวรีย์ดอนเจดีย์ ที่สุพรรณบุรี ซึ่งจัดทำโดยกรมศิลปากร นำมาบอกเล่าสู่กันฟังครับ

เที่ยวงานวัดบ้านๆ แบบนี้ นานทีปี (ละ) หนก็เคลิ้มสมาคมกันไป^_^

4 comments:

Anonymous said...

โคดสะนากันขนาดนี้ ได้ค่าคอมป่ะเนี่ย

Anonymous said...

มิบังอาจเรียกร้องขนาดนั้น
แต่มีของกำนัลของกำนันนิดหน่อยอยู่ใต้โต๊ะ

ถือว่าช่วยๆ กันบอกบุญ

prawit said...

มีเรื่องราว มีข้อมูลแทรกสอด ให้ได้ใช้สมอง ซำเหมอเลยนะขอรับ

1306ix said...

พี่ก็แวะมาสอดส่องให้ซำเหมอเหมือนกันครับ